พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระสมเด็จบางขุน...
พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 พิมพ์ใหญ่ มีจุด
(พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 พิมพ์ใหญ่มีจุด)
มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้จากสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย ครับ
ประวัติการจัดสร้าง สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509 วัดใหม่อมตรส
ผู้สร้าง
รายนามพระเถรานะเถระ พระคณาจารย์ ที่นั่งร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกประกอบด้วย
1. ท่านเจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ ฯ
2. ท่านเจ้าประคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามาง่าม นครปฐม
4. ท่านพระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ) วัดช้างให้ ปัตตานี
7. ท่านอาจารย์ อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
8 . ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ
9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี พระสวดพุธาภิเสกจากวัดสุทัศน์ฯ มีพระครูปลัดวิสุทธิวัตร เป็นหัวหน้า
ศิลปสกุลช่าง
ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ
1.ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์
2. มานิตย์ ปฐพี(สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ ) รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ
4.บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง
อายุการสร้าง
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ทำพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ตลอดจนถึงงานผูกพัทธสีมา หล่อพระพุทธรูป หล่อพระรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต) และสร้างพระพิมพ์ผง (พระเครื่อง) อันมีกำหนดงานวันที่ 4-10 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จเสร็จสิ้นในการสร้างพระอุโบสถ ดังเช่นที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน และนั้นถือเป็นจุดกำเนิดพระพิมพ์เนื้อผงจำนวน 12 พิมพ์ ที่มีชื่อเรียกว่า พระบางขุนพรหม ปี พ.ศ. 2509 หรือพระบางขุนพรหม 09 โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร เป็นประธานให้การอุปถัมภ์ พล. ท. กฤษณ์สีวะรา เป็นประธานจัดงานผูกพันธสีมา กำลังสำคัญในการดำเนินงานจนสำเร็จลุล่วงไปเป็นอย่างดี คือพระครูบริหารคุณวัตร (ชม) ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เป็นเจ้าอาวาส สรุปใจความสำคัญของานในครั้งนั้นคือ
วันอังคารที่ 4 มกราคม พ. ศ . 2509 เวลา 15.55 น. พล. อ. ประภาส จารุเสถียร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พล .ท. กฤษณ์ สีวะรา อ่านรายงานและประธานกล่าวตอบ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เวลา 20.27 น. พระสงฆ์ 4 รูป เริ่มสวดพุทธาภิเษกพระคณาจารย์นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก
วันพุธที่ 5 มกราคม พ .ศ. 2509 ทำการแจกสมนาคุณ พระรูปฯ และพระพิมพ์ให้ประชาชนร่วมบูชาทำบุญ ทั้งนำบรรจุกรุ และนำบูชาติดตัวกลับบ้าน
วันพฤหัสบดี ที่ 6 วันศุกร์ ที่ 7 วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ .ศ. 2509 บำเพ็ญกุศลปิดทองลูกนิมิต พร้อมทั้งให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคบูชาพระพิมพ์
วันอาทิตย์ ที่ 9 มกราคม พ .ศ. 2509
เวลา 16.40 น. อันเชิญศิลาจารึกพระปรมาภิไธย และพระฤกษ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประดิษฐาน ณ พระอุโบสถแล้วประกอบประกอบพิธีเททอง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตัก 16 นิ้ว จำนวน1 องค์ รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 1 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวน 109 องค์
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ . ศ. 2509
เวลา 19.30 น. พระสงฆ์ 84 รูป เจริญพระพุทธมนภายในพระอุโบสถ
เวลา 21.01 น. สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพล ประกอบพิธีผูกพันธสีมา
สำหรับรูปเหมือนเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานภายในซุ้ม ข้างพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุกรุพระบางขุนพรหม 09 กึ่งกลางระหว่างพระเจดีย์ และพระอุโบสถ พร้อมกันนั้นภายในซุ้มดังกล่าวยังประดิษฐาน แผ่นศิลาจารึกพระประมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 และพระฤกษ์ (ทรงเจิมให้เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ . ศ. 2508 เวลา10.30 น. ณ พระตำหนักจิตรลดาโหฐาน)
องค์ประกอบพระ
การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ . ศ. 2509พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด
ลักษณะวรรณะพระ
ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ
1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์
2.ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด84,000 บาท องค์เช่นกันเพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึงเกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ
พุทธลักษณะ
บล็อกแม่พิมพ์ พระขุนพรหม ปี 09 มีบล็อกแม่พิมพ์หลายตัวเนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ครั้งนั้นชำรุดแตกหักได้ง่าย เช่น ปูนพาสเตอร์ ซีเมนต์ขาว ยางทำฟัน เป็นต้น เมื่อกดพิมพ์พระไปสักระยะแม่พิมพ์จะเริ่มชำรุดเสียหาย ต้องถอดพิมพ์ทำบล็อกใหม่ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จำนวนพระตามต้องการในพระทุกพิมพ์ กล่าวกันว่า เฉพาะพระพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว มีแม่พิมพ์ถึง 27 แม่พิมพ์ สำหรับพิมพ์เกศทะลุซุ้มนั้น ครั้งแรกๆ ก็เป็นพิมพ์ใหญ่ธรรมดา ต่อมาบังเอิญตรงซุ้มเกิดกะเทาะ จึงแต่งเพิ่มกลายเป็นพิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นต้น
จำแนกพิมพ์
ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 12 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์พระประธาน
2. พิมพ์เส้นด้าย
3. พิมพ์ทรงเจดีย์
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์สังฆาฏิ
6. พิมพ์ปรกโพธิ์
7. พิมพ์ฐานคู่
8. พิมพ์ฐานแซม
9. พิมพ์อกครุฑ
10. พิมพ์ไสยาสน์
11. พิมพ์คะแนน
12. พิมพ์จันทร์ลอย
ข้อมูลพิเศษ
กรุพระบางขุนพรหม ปี พ .ศ. 2509 พระทั้งหมดจะบรรจุภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดใหม่อมตรส โดยภายในกรุก่อเป็นแบบแท๊งค์น้ำ มีช่องระบายอากาศจำนวน 10 ช่อง เอาทรายเทปูพื้น แล้วจึงนำพระมาบรรจุ เสร็จแล้วก็กลบเป็นชั้นๆ มาถึงด้านบน ใช้แผ่นเงินจำนวน 6 แผ่น จารึกข้อความว่า บรรจุปี 09 จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า พระกรุนี้จะมีสภาพพระที่สวยและสมบูรณ์ กว่ากรุแรกแน่นอน
ผู้เข้าชม
15399 ครั้ง
ราคา
ขายแล้ว
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
Erawan
ชื่อร้าน
เอราวัณ
ร้านค้า
erawan.99wat.com
โทรศัพท์
0871914956
ไอดีไลน์
0871914956
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงไทย / 554-0-03095-8
2. ธนาคารทหารไทย / 599-2-12771-1
3. ธนาคารทหารไทย / 057-2-76735-8
ตะกรุดมนต์มหากาฬ สามกษัตริย์ฝ
ตะกรุดเมตตา ฝาบาตร หลวงพ่อพิธ
นางกวักเนื้อผงยุคต้น หลวงพ่อกว
พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ห
พระนาคปรก พิมพ์ท้องป่อง เนื้อช
พระบูชารัชกาล ยุค ร-3 หน้าตัก3
ลูกสะกด หลวงพ่อเนียม วัดน้อย จ
ปรกนิราศภัย เนื้อทองระฆัง ครูบ
พระปิดตาจิ๋ว เนื้อผงคลุกรัก หล
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เปียโน
แหลมร่มโพธิ์
โกหมู
โจ๊ก ป่าแดง
ยอด วัดโพธิ์
เจนพระเครือง
trairat
Le29Amulet
บ้านพระสมเด็จ
rutchawans
tumlawyer
ep8600
พรหมยาน
เจริญสุข
JO RAYONG
แมวดำ99
digitalplus
นานา
gofubon
พีพีพระเครื่อง
ภูมิ IR
swat
Kittipan
luiopiop
หริด์ เก้าแสน
ชาวานิช
ชา วานิช
เทพจิระ
เนินพระ99
Leksoi8
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1699 คน
เพิ่มข้อมูล
พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 พิมพ์ใหญ่ มีจุด
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 พิมพ์ใหญ่ มีจุด
รายละเอียด
(พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 พิมพ์ใหญ่มีจุด)
มาพร้อมบัตรรับรองพระแท้จากสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย ครับ
ประวัติการจัดสร้าง สมเด็จบางขุนพรหม ปี 2509 วัดใหม่อมตรส
ผู้สร้าง
รายนามพระเถรานะเถระ พระคณาจารย์ ที่นั่งร่วมนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกประกอบด้วย
1. ท่านเจ้าประคุณพระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ ฯ
2. ท่านเจ้าประคุณพระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม
3. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามาง่าม นครปฐม
4. ท่านพระครูประสาทวิทยาคม (หลวงพ่อ) วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
5. ท่านเจ้าคุณวิมลกิจจารักษ์ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
6. ท่านพระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม ) วัดช้างให้ ปัตตานี
7. ท่านอาจารย์ อำพล วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ
8 . ท่านอาจารย์สาธิต วัดวชิรธรรมสาธิต กรุงเทพฯ
9. ท่านอาจารย์แต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี พระสวดพุธาภิเสกจากวัดสุทัศน์ฯ มีพระครูปลัดวิสุทธิวัตร เป็นหัวหน้า
ศิลปสกุลช่าง
ช่างผู้แกะบล็อกแม่พิมพ์ พอแบ่งได้ 4 ผีมือช่างคือ
1.ลุงแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี มีด้วยกันหลายพิมพ์ ลักษณะจะคลายพิมพ์มาตรฐานของวัดแต่จะแตกต่างออกไปบ้างเป็นเอกลักษณ์ เช่น องค์ค่อนข้างผอม รวมไปถึงพิมพ์พิเศษบางพิมพ์
2. มานิตย์ ปฐพี(สมัยนั้นมียศเป็นจ่าทหารเรือ ) รับผิดชอบแกะแม่พิมพ์บล็อกวัดตามพิมพ์มาตรฐานที่พบในการเปิดกรุ รวมไปถึงพิมพ์พิเศษอีกจำนวนหนึ่ง
3. ช่างเกษม มงคลเจริญ ซึ่งได้เข้ามาช่วยเหลือในช่วงระยะสุดท้ายแล้ว แม่พิมพ์ที่แกะจะมีความสวยงามคมชัดลึกมากเป็นพิเศษ
4.บล็อกกรรมการ หมายถึงผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้ามาช่วยในการสร้างพระบางขุนพรหมปี 09 และมีพระกรุบางขุนพรหมอยู่ในครอบครองจึงนำมาถอดแม่พิมพ์ ทำเป็นบล็อกแม่พิมพ์ในการกดพิมพ์พระ ซึ่งพระบล็อกนี้โครงสร้างของพิมพ์ทรงจะคล้ายและใกล้เคียงกับพระกรุบางขุนพรหม มากเพียงแต่ขนาดเล็กกว่า พร้อมทั้งตื้นกว่า ด้วยสาเหตุการถอดพิมพ์มานั้นเอง
อายุการสร้าง
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2502 ทำพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ตลอดจนถึงงานผูกพัทธสีมา หล่อพระพุทธรูป หล่อพระรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (โต) และสร้างพระพิมพ์ผง (พระเครื่อง) อันมีกำหนดงานวันที่ 4-10 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งเป็นปีที่สำเร็จเสร็จสิ้นในการสร้างพระอุโบสถ ดังเช่นที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน และนั้นถือเป็นจุดกำเนิดพระพิมพ์เนื้อผงจำนวน 12 พิมพ์ ที่มีชื่อเรียกว่า พระบางขุนพรหม ปี พ.ศ. 2509 หรือพระบางขุนพรหม 09 โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร เป็นประธานให้การอุปถัมภ์ พล. ท. กฤษณ์สีวะรา เป็นประธานจัดงานผูกพันธสีมา กำลังสำคัญในการดำเนินงานจนสำเร็จลุล่วงไปเป็นอย่างดี คือพระครูบริหารคุณวัตร (ชม) ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส และ พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เป็นเจ้าอาวาส สรุปใจความสำคัญของานในครั้งนั้นคือ
วันอังคารที่ 4 มกราคม พ. ศ . 2509 เวลา 15.55 น. พล. อ. ประภาส จารุเสถียร จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พล .ท. กฤษณ์ สีวะรา อ่านรายงานและประธานกล่าวตอบ พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เวลา 20.27 น. พระสงฆ์ 4 รูป เริ่มสวดพุทธาภิเษกพระคณาจารย์นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก
วันพุธที่ 5 มกราคม พ .ศ. 2509 ทำการแจกสมนาคุณ พระรูปฯ และพระพิมพ์ให้ประชาชนร่วมบูชาทำบุญ ทั้งนำบรรจุกรุ และนำบูชาติดตัวกลับบ้าน
วันพฤหัสบดี ที่ 6 วันศุกร์ ที่ 7 วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ .ศ. 2509 บำเพ็ญกุศลปิดทองลูกนิมิต พร้อมทั้งให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคบูชาพระพิมพ์
วันอาทิตย์ ที่ 9 มกราคม พ .ศ. 2509
เวลา 16.40 น. อันเชิญศิลาจารึกพระปรมาภิไธย และพระฤกษ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประดิษฐาน ณ พระอุโบสถแล้วประกอบประกอบพิธีเททอง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตัก 16 นิ้ว จำนวน1 องค์ รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว จำนวน 1 องค์ ขนาดหน้าตัก 5 นิ้ว จำนวน 109 องค์
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ . ศ. 2509
เวลา 19.30 น. พระสงฆ์ 84 รูป เจริญพระพุทธมนภายในพระอุโบสถ
เวลา 21.01 น. สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพล ประกอบพิธีผูกพันธสีมา
สำหรับรูปเหมือนเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หน้าตัก 29 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานภายในซุ้ม ข้างพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุกรุพระบางขุนพรหม 09 กึ่งกลางระหว่างพระเจดีย์ และพระอุโบสถ พร้อมกันนั้นภายในซุ้มดังกล่าวยังประดิษฐาน แผ่นศิลาจารึกพระประมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 9 และพระฤกษ์ (ทรงเจิมให้เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ . ศ. 2508 เวลา10.30 น. ณ พระตำหนักจิตรลดาโหฐาน)
องค์ประกอบพระ
การสร้างพระบางขุนพรหม ปี พ . ศ. 2509พระพิมพ์เนื้อผงต่างๆ เหล่านี้มีการจัดสร้างและเตรียมการมาก่อน คือเริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนตุลาคม มาแล้วเสร็จเอาเมื่อประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน พ .ศ. 2508 ทำพิธีการสร้างตำผง กดพิมพ์พระกันภายในพระอุโบสถ โดยหลวงพ่อชม เป็นผู้กดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นคณะกรรมการต่างๆ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ต่างร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำจนสำเร็จในที่สุด
ลักษณะวรรณะพระ
ลักษณะการสร้าง แบ่งเป็น 2 ชนิดประเภทคือ
1. ประเภทให้บูชาเพื่อนำไปบรรจุกรุในพระเจดีย์ ให้ทำบุญองค์ละ 1 บาทด้านหลังจะปั๊มคำว่า บรรจุ จำนวนรวมกันทั้งหมดทุกพิมพ์ 84,000 องค์
2.ประเภทให้บูชาทำบุญและนำติดตัวกลับบ้าน ให้ทำบุญองค์ละ 10 องค์ ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ทำบุญองค์ละ 25 บาท รวมไปถึงทำบุญเป็นกล่องชุด 11 พิมพ์ (ยกเว้นพิมพ์ไสยาสน์ ) ทำบุญุชุดละ 100 บาท ด้านหลังจะประทับตราเจดีย์ ซึ่งจำนวนการสร้างพระในประเภทนี้มีทั้งหมด84,000 บาท องค์เช่นกันเพียงแต่ภายหลังคัดพระที่ชำรุดแตกหักไม่สมบูรณ์ออกจึงเหลือเพียงประมาณ 72,518 องค์ เนื้อหามวลสาร มวลสารหลักของพระขุนพรหม ปี 09 คือ ชิ้นส่วนพระชำรุดแตกหักดินกรุที่ได้จากการเปิดกรุของทางวัดเมื่อปี พ . ศ . 2500 ผงพุทธคุณจากพระคณาจารย์ต่างๆรวมไปถึง ปูนขาว ปูนเปลือกหอย นำมันตัวอิ๊วน้ำผึงเกสรดอกบัวหลวง ดอกพิกุล และ ฯลฯ
พุทธลักษณะ
บล็อกแม่พิมพ์ พระขุนพรหม ปี 09 มีบล็อกแม่พิมพ์หลายตัวเนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ครั้งนั้นชำรุดแตกหักได้ง่าย เช่น ปูนพาสเตอร์ ซีเมนต์ขาว ยางทำฟัน เป็นต้น เมื่อกดพิมพ์พระไปสักระยะแม่พิมพ์จะเริ่มชำรุดเสียหาย ต้องถอดพิมพ์ทำบล็อกใหม่ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้จำนวนพระตามต้องการในพระทุกพิมพ์ กล่าวกันว่า เฉพาะพระพิมพ์ใหญ่เพียงพิมพ์เดียว มีแม่พิมพ์ถึง 27 แม่พิมพ์ สำหรับพิมพ์เกศทะลุซุ้มนั้น ครั้งแรกๆ ก็เป็นพิมพ์ใหญ่ธรรมดา ต่อมาบังเอิญตรงซุ้มเกิดกะเทาะ จึงแต่งเพิ่มกลายเป็นพิมพ์เกศทะลุซุ้ม เป็นต้น
จำแนกพิมพ์
ประกอบด้วยพระพิมพ์ต่างๆ รวม 12 พิมพ์คือ
1. พิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์พระประธาน
2. พิมพ์เส้นด้าย
3. พิมพ์ทรงเจดีย์
4. พิมพ์เกศบัวตูม
5. พิมพ์สังฆาฏิ
6. พิมพ์ปรกโพธิ์
7. พิมพ์ฐานคู่
8. พิมพ์ฐานแซม
9. พิมพ์อกครุฑ
10. พิมพ์ไสยาสน์
11. พิมพ์คะแนน
12. พิมพ์จันทร์ลอย
ข้อมูลพิเศษ
กรุพระบางขุนพรหม ปี พ .ศ. 2509 พระทั้งหมดจะบรรจุภายในพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดใหม่อมตรส โดยภายในกรุก่อเป็นแบบแท๊งค์น้ำ มีช่องระบายอากาศจำนวน 10 ช่อง เอาทรายเทปูพื้น แล้วจึงนำพระมาบรรจุ เสร็จแล้วก็กลบเป็นชั้นๆ มาถึงด้านบน ใช้แผ่นเงินจำนวน 6 แผ่น จารึกข้อความว่า บรรจุปี 09 จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่า พระกรุนี้จะมีสภาพพระที่สวยและสมบูรณ์ กว่ากรุแรกแน่นอน
ราคาปัจจุบัน
ขายแล้ว
จำนวนผู้เข้าชม
15505 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
Erawan
ชื่อร้าน
เอราวัณ
URL
http://www.erawan.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0871914956
ID LINE
0871914956
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงไทย / 554-0-03095-8
2. ธนาคารทหารไทย / 599-2-12771-1
3. ธนาคารทหารไทย / 057-2-76735-8
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี